พระ หลวงปู่ศรี ผีย่าน วัดหลวงสุมังคลาราม ศรีษะเกศ

รูปเหมือน หลวงปู่ศรี ผีย่าน วัดหลวงสุมังคลาราม ศรีษะเกศรูปเหมือน หลวงปู่ศรี ผีย่าน วัดหลวงสุมังคลาราม ศรีษะเกศ

9999on-order.gif
รูปเหมือน หลวงปู่ศรี ผีย่าน วัดหลวงสุมังคลาราม ศรีษะเกศรูปเหมือน หลวงปู่ศรี ผีย่าน วัดหลวงสุมังคลาราม ศรีษะเกศ
คำอธิบาย

พระญาณวิเศษ (ศรี  ฐิตธมฺโม)  อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม  และอดีตเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย  ท่านได้รับสมณศักดิ์สูงสุด  เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณวิเศษ  ได้สร้างผลงานไว้ที่วัดหลวงสุมังคลารามเป็นอันมาก  และทั้งเป็นพระสงฆ์รุ่นบุกเบิก  สร้างและวางรากฐานความมั่นคงให้แก่คณะธรรมยุตจังหวัดศรีสะเกษ

 

       ท่านเกิดเมื่อวันที่  18  เมษายน  2431  ตรงกับวันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6  ปีชวด ที่บ้านหนองโน  ม.5 ต.น้ำคำ  อ.เมืองศรีสะเกษ  จ.ศรีสะเกษ  เป็นบุตรของ นายธรรมา(จารย์ครูธรรมา)  สุมงคล  และนางบุญมา  ท่านเกิดในตระกูลชาวนา  มีพี่น้อง  8  คน  ท่านเป็นบุตรคนที่ 4  ต่อมามารดาเสียชีวิต  บิดาได้ภรรยาใหม่  จึงมีพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดาอีก  4  คน

 

       การศึกษา...และการจาริกไปต่างถิ่น   เมื่ออายุ  13  ปี  ได้เรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนวัดพระโต (วัดมหาพุทธาราม)  ต่อมาเมื่ออายุ  15  ปี  บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพระโต  มีพระครูเกษตรศีลาจารย์ (นาม)  เจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์  จำพรรษาอยู่วัดพระโต  ได้เล่าเรียนหนังสือภาษาไทยต่อในโรงเรียนวัดพระโตนั้น  จนสอบได้ชั้นมูล 3 (ประถม 3)  ในปีต่อมา  ด้วยความรู้ความสามารถเป็นที่พอใจของพระอุปัชฌาย์ จึงขอแต่งตั้งให้เป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนวัดพระโต  ได้รับอนุมัติจากกระทรวงธรรมการ  รับนิตยภัตเดือนละ  6  บาท  เป็นครูสอนอยู่  2  ปี  ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่วัดใหม่  บริเวณที่ตั้งโรงเรียนวัดพระโตปัจจุบัน  ซึ่งเป็นที่ดินวัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต)  อยู่ฝั่งตะวันออกของถนนขุขันธ์  ตรงข้ามกับวัดมหาพุทธารามนั่นเอง (วัดใหม่เป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดศรีสะเกษ แต่ร้างไปในภายหลัง  มีพระมหารัตน์  จากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเจ้าอาวาส)  ได้เรียนพระปริยัติธรรมไปด้วย  2  ปี  

 

       พ.ศ.2448  ติดตามอาจารย์มหารัตน์ไปอยู่วัดสุปัฏนาราม  จังหวัดอุบลราชธานี  เรียนวิชาฝึกหัดครูที่วัดนั้น  2  ปี  จบหลักสูตรชั้นสูงของโรงเรียน

 

       พ.ศ.2450  ติดตามอาจารย์พระมหารัตน์ไปจำพรรษาที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี  ช่วยสอนหนังสือภาษาไทยให้สามเณรและศิษย์วัดนั้น  1  ปี

 

       พ.ศ.2451  อายุย่างเข้า  21 ปี  ย้ายจากวัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร เข้ามาอยู่วัดสุปัฏนาราม  ได้รับการอุปสมบทที่วัดสุปัฏนาราม  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี  เมื่อวันที่  1  กรกฎาคม  2451  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส  อ้วน)  เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระศาสนดิลก  เป็นพระอุปัชฌาย์  ระหว่างนี้ได้ศึกษาธรรม  สอบไล่ได้นักธรรมตรี  นักธรรมโท  และสอบบาลีไวยากรณ์  สนามวัดได้

 

       พ.ศ.2453 - 2454  ไปสอนหนังสือภาษาไทยแก่พระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี

 

       พ.ศ.2455  พระอุปัชฌาย์ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านค้อหวาง  อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี  บริหารวัด  สอนภาษาไทยแก่ศิษย์  สร้างเสนาสนะที่สำคัญ คือ อุโบสถและศาลาการเปรียญ อย่างละ  1  หลัง.....อยู่  2  ปี  จึงย้ายจากวัดค้อหวางเข้าพรรษาที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลฯ)  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง   โดยพระมหาเสน  ชิตสโน  เป็นเจ้าอาวาส  ช่วยสอนและบูรณะปรับปรุงวัดอยู่  2  ปี  จึงย้ายจากวัดศรีทองไปวัดบรมนิวาส  กรุงเทพฯ  เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท  จันทร์)  เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช  เป็นเจ้าอาวาส  ได้ศึกษาบาลี และช่วยภาระเจ้าอาวาสประการต่าง ๆ อยู่  2  ปี....ย้ายไปจำพรรษาที่วัดพิชัยญาติการาม  อำเภอคลองสาน  จังหวัดธนบุรี  เจ้าคุณพระเขมาพิมุขธรรม  เป็นเจ้าอาวาส  ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่  2  ปี 

 

       พ.ศ.2463  ลาเจ้าอาวาสวัดพิชัยญาติการาม   กลับภูมิลำเนาเดิมที่ จังหวัดขุขันธ์ (ศรีสะเกษ)  ได้ไปจำพรรษาที่วัดโพนข่า  ตำบลโพนข่า  อำเภอเมือง  จังหวัดศรีสะเกษ  มีพระทอง เป็นเจ้าอาวาสวัดโพนข่า....ในปีต่อมา  พ.ศ.2464  พระทองลาสิกขา  ได้รับบริหารงานในตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อมาเป็นเวลา  5  ปี ....ในระหว่างนี้..มีผลงานด้านต่าง ๆ มากมาย  เป็นต้นว่า...เปิดการศึกษาพระปริยัติธรรม และบาลีขึ้นที่วัด   ปลูกสร้างศาลาการเปรียญ  1  หลัง  ปลูกสร้างกุฏิไม้เนื้อแข็งทรงมลิลา  1  หลัง  ก่อสร้างอุโบสถตามแบบกรมศิลปากร  1  หลัง  และขุดสระน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้ง  1  แห่งในบริเวณวัด  เป็นต้น

 

       .....มูลเหตุการได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม  คือ  พ.ศ.2469  ขุนอำไพ  พร้อมด้วยนายเปลี่ยน  ศีลวาณิช  และนายผึ้ง  มหาผล  ผู้นำหมู่พุทธบริษัท  ได้นิมนต์ไปจำพรรษาอยู่วัดหลวงสุมังคลาราม  มีพระครูเกษตรศีลาจารย์ (ทอง)  เป็นเจ้าอาวาส  ได้ช่วยภาระเจ้าอาวาสในด้านก่อสร้างพระอุโบสถ  วัดหลวงสุมังคลาราม  และยังคงไปดูแลควบคุมการก่อสร้างอุโบสถวัดโพนข่าพร้อมกันไปทั้งสองวัด  โดยใช้วิธีการเหมือนกัน  คือ  จ้างช่างคนญวนเป็นหัวหน้า  และระดมภิกษุ สามเณรในวัดเป็นคนงาน  จนวัดโพนข่าเสร็จลง  สามารถทำพิธีผูกพัทธสีมา  เมื่อวันที่  5  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2473   ส่วนอุโบสถวัดหลวงสุมังคลาราม  เสร็จลงเมื่อ  พ.ศ.2485

 

       พ.ศ.2476  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส  อ้วน)  ขอวัดหลวงสุมังคลารามจากเจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์ (ศรีสะเกษ)  เพื่อตั้งเป็นวัดธรรมยุติ  โดยนิมนต์ท่านพระครูเกษตรศีลาจารย์  เจ้าอาวาสรูปเดิม  และเจ้าคณะแขวงขณะนั้น  ย้ายไปอยู่วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม  และแต่งตั้งให้ท่านพระญาณวิเศษ (ศรี  ฐิตธมฺโม)  ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสิริสารคุณ  เป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงฯ  เมื่ออายุ  46  พรรษา 26

 

       พ.ศ.2481  รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอน้ำอ้อม (อำเภอกันทรลักษ์)  จังหวัดขุขันธ์ (ศรีสะเกษ)  จากนี้ไปก็จำเริญตำแหน่งงานเรื่อยไปจนถึงปี  พ.ศ.2514   เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ  ธรรมยุต

 

       .....ด้านสมณศักดิ์...ท่านได้สมณศักดิ์ครั้งแรกเมื่ออายุ  49  พรรษา  29   พ.ศ.2479  รับสัญญาบัตร (พระครูชั้นตรี)  ที่พระครูสิริสารคุณ  แล้วเลื่อนไปตามลำดับชั้นโท  เอก  พิเศษ  จนได้เป็นพระราชาคณะที่  พระญาณวิเศษ  ในปี พ.ศ.2514

 

       ...ผลงานสำคัญของท่าน...คือได้ตั้งรากฐานคณะธรรมยุตขึ้นอย่างมั่นคงในจังหวัดศรีสะเกษ  โดยได้ขยายวัดคณะธรรมยุตออกไป  17  วัด.....นอกจากนี้...ยังมีที่พักสงฆ์อยู่อีก  22  แห่ง   วัดธรรมยุตในเขตปกครองจังหวัดศรีสะเกษเกิดขึ้นได้...ถือว่าด้วยบารมีของพระญาณวิเศษ (ศรี  ฐิตธมฺโม)  เป็นมูลเหตุ

 

       ....พระญาณวิเศษ (ศรี  ฐิตธมฺโม)   มรณภาพ  เมื่อวันที่  23  มิถุนายน  พ.ศ.2529   ตรงกับวันจันทร์ แรม  2  ค่ำ  เดือน 7  ปีขาล   สิริรวมอายุ  89  ปี  2  เดือนเศษ...