พระผงเปิดโลก พระพุทธฉาย วัดสิงห์ ปัดทอง

พระผงเปิดโลก พระพุทธฉาย วัดสิงห์ ปัดทองพระผงเปิดโลก พระพุทธฉาย วัดสิงห์ ปัดทอง

150 ฿
9999on-order.gif
พระผงเปิดโลก พระพุทธฉาย วัดสิงห์ ปัดทองพระผงเปิดโลก พระพุทธฉาย วัดสิงห์ ปัดทอง
คำอธิบาย

วัดสิงห์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๙ หมู่ ๒ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ เนื้อที่ประมาณ ๒๗ ไร่ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตก ด้านหลังของวัดติดต่อกับถนนเลียบกั้นคลองชลประทานสายชัยนาท-อ่างทอง

วัดสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธฉาย ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

พระพุทธฉายองค์จริงดั้งเดิมประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระพุทธฉาย หมู่ ๑ ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี

ความหมายของ พระพุทธฉาย คือ ฉายา (เงา) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปรากฏเป็นเงาเลือนรางอยู่ที่ผาหินบริเวณเชิงเขาวัดพระพุทธฉาย มีลักษณะคล้าย พระพุทธรูปยืน ค้นพบสมัยพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เช่นเดียวกันกับ พระพุทธบาท

ตำนานเกี่ยวกับพระพุทธฉายกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่เขาฆาฏกะ (เขาพระพุทธฉาย) เพื่อโปรดนายพรานฆาฏกะ ซึ่งมีสันดานโหดร้าย และมีมิจฉาทิฐิ จนทำให้พรานฆาฏกะสำนึกผิด และขอบวชเป็นพระภิกษุ ต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จกลับ นายพรานได้ทูลขอให้ประทานสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้กระทำพุทธปาฏิหาริย์ ให้พระฉายาลักษณ์ของพระองค์ปรากฏอยู่บนผาหิน บริเวณเชิงเขาดังกล่าว มีลักษณะเป็นเส้นเงาสีแดง คล้ายสีดินเทศ สูงประมาณ ๕ เมตร มีการจัดงานสักการะพระพุทธฉายทุกวันมาฆบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓) ของทุกปี

พระพุทธฉาย ของ วัดสิงห์ เป็นองค์พระพุทธฉายที่สร้างขึ้นโดยจำลองจากองค์จริง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกันกับวัดสิงห์ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปปางพระอิริยาบถยืน กล่าวคือ เป็นพระพุทธรูปยืน ห้อยพระหัตถ์ทั้งสองข้างลงชิดพระวรกาย ลืมเนตรทอดตรงไปข้างหน้า เป็นกิริยาตรวจความพร้อมเพรียง และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพระสงฆ์สาวก

ตำนานความเป็นมาของปางพระอิริยาบถยืน กล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล ช่วงยามเช้าของทุกๆ วัน ก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จออกโปรดสัตว์ จะทรงหยุดยืน ณ หน้ามุขพระคันธกุฏิเสมอ เพื่อทอดพระเนตรความพร้อมเพรียงของหมู่พระสงฆ์

ครั้นทรงเห็นว่า พระสงฆ์สาวกมีความพร้อมเพรียง และเป็นระเบียบดีแล้ว จึงเสด็จเป็นประธานนำหมู่พระสงฆ์ออกบิณฑบาต หรือไปในที่ที่ได้รับนิมนต์ไว้ นับเป็นพระพุทธจริยวัตรที่แสดงถึงพระเมตตาและกรุณายิ่งแก่พระสงฆ์ และทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำหมู่คณะ

พระพุทธฉายของวัดสิงห์ ประดิษฐานอยู่ที่ผาหินจำลอง ตั้งอยู่กลางแจ้งหน้าอุโบสถ โดยมีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาเป็นระยะๆ การบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ครั้งแรกกระทำใน พ.ศ.๒๓๙๗ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นสภาพวัดสิงห์ และพระพุทธฉาย ชำรุดทรุดโทรมมาก

สันนิษฐานว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานข้าราชบริพารในพระองค์ท่าน ให้มาเป็นแม่งานในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น น่าสังเกตว่าหลังจากบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธฉายเสร็จแล้ว ได้มีการติดตั้ง องค์พญาครุฑ (สัญลักษณ์ของราชการ) ไว้ที่ผาหินจำลองดังกล่าว และอยู่ยืนยงจนมาถึงปัจจุบันนี้

การบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่พระพุทธฉายครั้งที่ ๒ ได้กระทำใน พ.ศ.๒๕๔๘ ห่างจากครั้งแรก ๑๕๑ ปี โดยคณะกรรมการวัดสิงห์เป็นผู้ดำเนินการ มีการเสริมฐานรากให้มั่นคงแข็งแรง และทำหลังคาคลุมผาหินจำลองไว้ ซึ่งจะทำให้พระพุทธฉายมั่นคงแข็งแรงอยู่คู่กับวัดสิงห์ไปอีกตราบนานเท่านาน หลายชั่วอายุคน

ในสมัยก่อน ทุกๆ วันมาฆบูชา วัดสิงห์จะจัดงาน เทศกาลบูชาพระพุทธฉาย เป็นประจำทุกปี โดยชาวบ้านซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนจะจัดภัตตาหาร ข้าวตอก ดอกไม้ และที่ขาดไม่ได้คือ ข้าวหลาม เนื่องจากมีผู้กล่าวกันว่า ท่านชอบฉันข้าวหลามมาก ใครมาขอพร หรือบนบานศาลกล่าว เมื่อสมหวังแล้วมักจะแก้บนกันด้วยข้าวหลาม

ด้านวัตถุมงคลของพระพุทธฉายนั้น พระอธิการสว่าง อภินันโท เจ้าอาวาสวัดสิงห์ รูปปัจจุบัน ได้จัดสร้าง เหรียญรุ่นแรก ขึ้นในช่วงปลายพ.ศ.๒๕๕๑ จำนวน ๑,๕๐๐ เหรียญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแจกสมนาคุณแก่พุทธศาสนิกชนที่ร่วมงานทอดกฐินสามัคคีของวัดสิงห์ในปีนั้น เหรียญรุ่นนี้มีเนื้อทองแดงอย่างเดียว ลักษณะเหรียญเป็นรูปไข่ ด้านหน้าเป็นองค์พระพุทธฉาย มีอักษรใต้ฐานเขียนว่า "พระพุทธฉาย" ขอบเหรียญเป็นเม็ดไข่ปลาล้อมรอบ

ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้าพระเจ้าห้าพระองค์ มียันต์คำว่า "นะ” เป็นอักขระขอมกำกับอยู่ และมีอักษรใต้ยันต์เขียนว่า "วัดสิงห์ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี"

เหรียญพระพุทธฉาย ดังกล่าวได้รับการแผ่เมตตาปลุกเสกจาก พระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มังคโล) เจ้าอาวาสวัดศรีสาคร ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี อายุ ๘๒ ปี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.สิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑

หลวงพ่อฉาบ เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดพุทธาคมไปจากสายวัดสิงห์เช่นกัน กล่าวคือ ท่านเคยไปศึกษาไสยเวทกับ หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี และหลวงพ่อซวงเคยไปศึกษาไสยเวทกับ พระอาจารย์คำ อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัดสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไสยเวท โดยเฉพาะวิชาทำผ้ายันต์รูปสิงห์ และการสักยันต์บุตร-ลบ

นอกจากนี้ หลวงพ่อฉาบ ยังได้ศึกษาไสยเวทจากหลายคณาจารย์ เช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม หลวงพ่อโอภาสี กรุงเทพฯ หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นต้น 

หลวงพ่อฉาบเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีประพฤติชอบ ทรงอภิญญา บรรลุญาณสมาบัติชั้นสูง มีหูทิพย์ตาทิพย์ สามารถถอดกายทิพย์ไปบิณฑบาตในสถานที่ต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถเข้าไปในห้องที่ปิดประตูทึบได้อย่างน่าอัศจรรย์ณข้อมูล

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก น.ส.พ.คมชัดลึก)