พระสมเด็จ ร่มเกล้า แจกทหาร รบ ปี2531

พระสมเด็จ ร่มเกล้า แจกทหาร รบ ปี2531
พระสมเด็จ ร่มเกล้า แจกทหาร รบ ปี2531พระสมเด็จ ร่มเกล้า แจกทหาร รบ ปี2531

9999on-order.gif
พระสมเด็จ ร่มเกล้า แจกทหาร รบ ปี2531พระสมเด็จ ร่มเกล้า แจกทหาร รบ ปี2531
คำอธิบาย

"สมรภูมิบ้านร่มเกล้า(สงครามที่ถูกลืม) "

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า ศึกประวัติศาสตร์ ระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ณ บริเวณ ยุทธภูมิบ้านร่มเกล้า ในช่วง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 จากการสู้รบอย่างหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมากทั้งฝ่ายไทยและลาว และนับเป็นการสูญเสียชีวิตทหารมากที่สุดในการรบของไทยเท่าที่เคยมีมา จากคำบอกเล่าของทหารที่อยู่แนวหน้า ซึ่งทำการรบ ณ ยุทธภูมิบ้านร่มเกล้า ทำให้ทราบว่า ศึกครั้งนี้เราต้องรบกับข้าศึกที่มียุทธภูมิดีกว่า มีอำนาจการยิงสนับสนุนต่อเนื่องและรุนแรง ต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะแนวกับระเบิด ทหารหลายนายซึ่งผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน กล่าวว่า เป็นการรบที่หนักที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมาในชีวิตการเป็นทหาร โดยเฉพาะบริเวณเนิน 1182 , 1370 , และ 1428 ซึ่งถือว่าเป็นเนินแห่งสมรภูมิเลือดอย่างแท้จริง

ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดทหารไทยทั้ง ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารพราน ได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆที่ลาวครองไว้กลับมาได้เ็้ป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ถึงแม้จะใช้กำลังทางอากาศบินโจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนักก็ตาม จนทำให้ ทอ. ไทย ต้องสูญเสียเครื่องบิน เอฟ 5 อี และ โอวี 10 ไปอย่างละ 1 เครื่อง อันเป็นผลมาจากการยิงของฝ่ายลาว ทางภาคพื้นดิน ด้วย ปตอ. และจรวดแซม

หลังจากที่ทหารลาวสูญเสียที่มั่นต่างๆ ได้รวบรวมกำลังพลเข้ารักษาเนิน 1428 ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยมีกำลังรบและกำลังสนับสนุนดังนี้คือ กองพลที่ 1 จำนวน 4 กองพัน พร้อมอาวุธหนักปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืน 105 มม. 3 กระบอก รถถังอีก 4 คัน รวมกำลังพล 372 คน

กองพลที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลวงพระบาง จำนวน 4 กองพัน เช่นกัน มีกำลังพลกว่า 418 คน สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 105 มม. 3 กระบอก รถถัง 5 คัน ปืน ค. ขนาด 62 และ 82 มม. รวมทั้ง ปตอ. ด้วย นอกจากนี้กองกำลังหลักซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ไชยบุรี มีปืนใหญ่ 130 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 122 มม. อีก 3 กระบอกรวมทั้งหน่วยจรวดต่อสู้อากาศยานแบบ แซม 7 ซึ่งเป็นปืนที่ทหารอากาศมีความเชี่ยวชาญมาก

ในระยะแรกของการรบนั้น ทหารไทยใช้ทหารม้าและทหารพรานรุกคืบหน้าเข้าสู่บริเวณเนิน 1428 ซึ่งพบกับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายลาวอย่างคาดไม่ถึงโดยเฉพาะกับระเบิดและการยิงปืนใหญ่จากลาวอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง ทำให้การรุกคืบหน้าเป็นไปได้ช้าและสูญเสียอย่างมาก สาเหตุสำคัญที่เราไม่สามารถเผด็จศึกได้อย่างที่คาดหมาย เนื่องจากทหารลาวมีชัยภูมิที่ได้เปรียบ ที่มั่นบนเนิน 1428 มีความแข็งแรง สามารถส่งกำลังบำรุงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การยิงอาวุธหนักของฝ่ายลาวมีความแม่นยำและได้ผลมาก การพิชิตเนิน 1428 ให้ได้นั้น ทางที่สะดวกและรวดเร็วที่สุดคือต้องโอบอ้อมบุกตะลุยขึ้นจากตีนเนินด้านเขตประเทศลาว และสยบฐานปืนใหญ่ที่อยู่ในฝั่งลาวให้เงียบเสียงเสียก่อน ซึ่งในขั้นแรกทหารไทยมีความคิดที่จะผลักดันทหารลาวออกจากดินแดนไทยเท่านั้น การรบจึงจำกัดเขตอยู่แต่ในประเทศไทย แต่หลังจากการรบในช่วงแรกฝ่ายเราไม่ประสบผลสำเร็จดังที่คาดหมายไว้ คณะนายทหารจึงได้ปรับยุทธการรบเสียใหม่ โดยใช้กำลังปืนใหญ่ระยะยิงไกลแบบ เอ็ม 198 และปืนใหญ่แบบต่างๆ ระดมยิงเข้าไปในดินแดนลาว ที่หมายคือการยิงฐานปืนใหญ่และที่ตั้งกำลังทหาร พร้อมทั้งส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปตัดการส่งกำลังสนับสนุนของฝ่ายลาว จนกระทั่งการสนับสนุนการรบของลาวได้ลดประสิทธิภาพลงไปอย่างมาก ซึ่งคาดว่า หลังจากวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2531 เนิน 1428 จะต้องกลับคืนมาเป็นของไทยอย่างแน่นอน แต่แล้ววันที่ 19 กุมภาพันธ์ ก็ได้มีการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันฝ่ายละ 3 กม. อันเป็นการสิ้นสุดการรบที่ไม่สามารถชี้ชัดไปได้ว่า ใครคือผู้ชนะ

**ข้อสังเกตจากการรบ
การรบครั้งนี้ผิดกับการรบเท่าที่ทหารไทยได้เคยผ่านมา ทำให้ต้องระดมกำลังทหารหน่วยต่างๆ เข้าสู่ยุทธบริเวณจำนวนมาก ทั้งจากเหล่าม้า เหล่าราบ เหล่าปืนใหญ่ เหล่าทหารช่าง หน่วยรบพิเศษ รวมทั้งการรบนอกแบบที่ต้องใช้ทหารพรานเข้าเกาะฐานที่มั่นของฝ่ายลาวด้วย

การส่งกำลังบำรุงของทหารไทยเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเส้นทาง สภาพถนนที่ค่อนข้างแคบและขรุขระ อีกทั้งเป็นทางสูงชันคดเคี้ยว ลัดเลาะไปตามไหล่เขาที่ค่อนข้างสูงไม่ต่ำกว่า 1000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล 
สาเหตุที่ทหารลาวได้ยึดเนิน 1428 ชนิดหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมถอย เท่าที่ดูจากภูมิประเทศแล้ว เนิน 1428 เป็นเนินบนยอดเขาที่สูงที่สุด สามารถมองเห็นชัยภูมิรอบๆ ได้เป็นอย่างดี และ ผตน. ของลาวจะคอยชี้เป้าให้ปืนใหญ่ยิงถล่มทหารไทยที่กำลังรุกคืบหน้าอยู่เบื้องล่างอย่างได้ผล และที่สำคัญคือ เนิน 1428 นั้นทหารลาวได้ทำบังเกอร์ถาวร (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ขุดอุโมงเชื่อมต่อกับรอบฐาน ปรับพื้นที่ ขุดร่องเหลดไว้พร้อมสรรพ เป็นฐานที่มั่นแข็งแรง สามารถทนทานการโจมตีทางอากาศได้อย่างดี น่าสงสัยว่าการข่าวของเราดีแค่ไหน ทำไมปล่อยให้ทหารลาวมาตั้งฐานที่มั่นอยู่ได้ตั้งนาน แถมวางกับระเบิดนับหมื่นๆลูกไว้เต็มไปหมด การกระทำเช่นนี้คงไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น ต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือน และที่สำคัญที่สุดคือ การประเมินค่า ขีดความสามารถในการรบของทหารลาว ซึ่งทหารลาวในครั้งนั้นได้รับการฝึกจากเวียตนาม มีรัสเซียสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง โดยเฉพาะทหารปืนใหญ่ และหน่วยป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งต้องใช้ฝีมือและเทคโนโลยีเข้าช่วย จึงจะปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การที่ทหารไทยไม่สามารถชนะได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเราต้องต่อสู้กับกองกำลังทหารลาวและกำลังของประเทศที่ 3 พร้อมๆกันด้วยอาวุธหลายอย่างที่ทันสมัย ชัยภูมิในการรบทหารไทยเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการรบก็ต้องฟังคำสั่งจากรัฐบาล รบในกฎเกณฑ์ ทำให้การรบทำอย่างไม่เต็มที่ แถมสูญเสียกำลังผลไปอย่างมากมาย

การใช้สุนัขสงคราม ตรวจหาทุ่นระเบิด นับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดและได้ผลดีที่สุด แต่เมื่อถึงสนามรบจริง สุนัขบางตัวกลับเดินหนีสงสัยจะเวียนหัวกลิ่นกำมะถัน เพราะลาววางไว้เต็มไปหมด นักรบบางท่านจึงต้องเหลือช่วยตนเองเอาไม้ไผ่มาทำเครื่องค้นหากับระเบิดไปพรางๆก่อน เพราะเครื่องมือตรวจค้นทุ่นระเบิดของเรามีจำนวนจำกัด

ได้ยินจากทหารที่ลงมาจากเนิน 1428 ในแนวรบระหว่าง ไทย – ลาว ห่างกันแค่ 200 – 300 เมตรเท่านั้น เล่าให้ฟังว่า วันที่ทหารลาวสามารถสอย เอฟ 5 อี ร่วงลงได้ ทหารลาวยินดีปรีดากันทั่วหน้า แถมตะโกนบอกไทยว่ามือจรวดที่พิชิต บ. ตัวเก่งของไทย มีชื่อเสียงเรียงนามว่า "ไอ้ไฮ้" วีรบุรุษของชาวลาว

ศึกประวัติศาสตร์ ไทย – ลาว ถึงแม้จะยุติกันไปนานกว่า 10 ปีแล้ว ท่ามกลางกลิ่นคาวเลือดของนักรบไทยและลาว อันเป็นผลจากการเจรจาของผู้นำทางทหารของแต่ละประเทศ ที่มีถ้อยคำแถลงว่า ต่อไปนี้ไทยและลาวจะไม่ตีรันฟันแทงกันอีกแล้ว เลือดไทย – ลาว จะไม่มีให้เห็นกันอีกต่อไป สายสัมพันธ์ของทั้ง 2 ชาติจะยั่งยืนเสมือนสายน้ำโขงที่ไม่มีวันเหือดแห้ง แต่คำเหล่านี้ น่าจะได้ยินก่อนที่จะเปิดยุทธการบ้านร่มเกล้า เป็นที่น่าเสียดายที่พวกนักรบที่กล้าหาญได้สังเวยชีพไปแล้วไม่มีวันจะได้ยินคำเหล่านี้ เลือดและวิญญาณของพวกเขาที่ไหลนองและสิงสถิตย์อยู่บนเนินร้าง 1428 คงทำให้เนินนรกแห่งนี้ เป็นดินแดนอาถรรพ์ต่อไปอีกนาน

๑. มูลเหตุของการรบ

ยุทธการบ้านร่มเกล้า เกิดขึ้นในกรณีพิพาทระหว่าง ไทย-ลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งไทยและลาวอ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ โดยลาวได้ส่งกำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน และเกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอย่างหนักหน่วง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๓๐ - กพ.๒๕๓๑ และมีการหยุดยิงของทั้งสองฝ่ายเมื่อ ๑๙ กพ. ๒๕๓๑

๒. ปัญหาเส้นเขตแดน จุดก่อของสงคราม

ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กำหนดให้น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีน้ำเหืองสองสาย ฝรั่งเศสตัดสินเอาเอง (เข้าใจว่าไม่ได้แจ้งให้กรุงเทพฯ ทราบ) ว่าเลือกสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากขึ้นหน่อย เขตแดนตรงนั้นไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งปี ๒๕๓๐ ทางลาวอ้างว่าบริเวณบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว เนื่องจากแผนที่คนละฉบับกับไทย ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการสำราจครั้งนั้น ภายหลังพบว่าลำน้ำเหืองมี ๒ สาย ซึ่งไม่ตรงกับแนวลำน้ำในปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในแผนที่สหรัฐทำให้รัฐบาลไทยช่วงสงครามเวียดนาม อีกทั้งลำน้ำในปัจจุบันเรียกว่าเหืองป่าหมัน ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เคยปรากฏในเอกสารใด ๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๑

๒.๑ จุดที่น่าสังเกตของเหตุการณ์ครั้งนี้

๒.๑.๒ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวคือปี ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ทหารเวียดนาม-เฮงสัมริน ได้ส่งกองกำลังจำนวนมากเข้ากวาดล้างกองกำลังเขมรฝ่ายต่อต้าน ตามแนวชายแดนไทยที่จังหวัดอุบลราชธานี จนเกิดกรณีการรบกันอย่างหนักกับไทยที่ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย,ลาว และกัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งเขมรเป็นที่ราบต่ำ ทหารเวียดนามจึงได้รุกล้ำเข้ามาตั้งฐานที่มั่นลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ 5 กม. มีการปรับปรุงดัดแปลงที่ตั้งเพื่อรับการโจมตีจากทางไทยเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการตัดการติดต่อระหว่างไทยกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านในการสนับสนุนยุทธปัจจัยการรบที่ช่องบก ที่ช่องบกนั้นมีการปะทะกันอย่างหนักระหว่างไทยและเวียดนาม (ไทยใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวนระยะไกล, ๒๗ กองร้อยทหารพราน, ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ โดยเครื่องบิน A๓๗ และเอฟ ๕) การรบมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าที่บ้านร่มเกล้า การปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังทหารเวียดนามที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ทหารไทยสูญเสีย กำลังพล ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๔๔ นาย ยึดอาวุธจากฝ่ายเวียดนามได้จำนวนมาก (ตัวเลขที่เปิดเผยจากทางการไทย) ทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน จากการรบในเขมรและชายแดนไทยตั้งแต่บุกเข้ามาจนถอนออกไป บางส่วนถูกจับเป็นเชลยและหนีทัพมอบตัวกับไทยประมาณ ๕๐๐ คน

จุดที่น่าสังเกตเรื่องหนึ่งก็คือการรบครั้งนี้มีการเตรียมการอย่างดี ทหารเวียดนามมีอาวุธและระบบการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยมาก คาดว่าได้รับมาการสนับสนุนจากรัสเซีย ( ปี ๒๕๒๒ เวียดนามตีเขมรแดงแตกและถอยไปตั้งฐานที่ชายแดนไทย แถบเทือกเขาพนมมาลัย และเกิดการรบเรื่อยมาในเขมร โดยฝ่ายเขมรต่อต้านคือ เขมรแดง ได้จีนสนับสนุน กลุ่มซอนซาน และเจ้าสีหนุ (มีไทย สหรัฐ ฝรั่งเศสให้การสนับสนุน) กับทหารเวียดนาม ผสมกับเขมรกลุ่มเฮงสัมริน มีนายฮุนเซน เป็นผู้นำซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นเขมรแดงมาก่อน แต่แตกคอกันและไปเข้ากับเวียดนาม นำทหารเวียดนามมาขับไล่เขมรแดงออกไป)

นอกจากนี้ยังมีรายงานจากบางหน่วยของกองทัพบกว่าทหารเวียดนามมีการใช้อาวุธเคมีในบริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งมีการยืนยันจากทหารเขมรในการปะทะหลายครั้งว่ามีการโปรยหรือทิ้งสารบางอย่างลงมา ซึ่งมีผลต่อผิวหนังและระบบหายใจ นอกจากนั้นแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าวยังเต็มไปด้วยสารพิษ จากการปะทะและกวาดล้างทหารเวียดนามในเนิน ๕๖๕ ,๔๐๘ ,๕๐๐, ๓๘๒ พบหน้ากากและชุดสำหรับป้องกันอาวุธเคมี ด้วย
๒.๑.๓ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ากรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวครั้งนี้เป็นแรงผลักดันที่ลาวได้รับจากเวียดนามและโซเวียต ซึ่งพยายามขัดขวางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นหนึ่งในแผนตัดขาดและยึดภาคอิสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอิสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำ

ลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่

คือพื้นที่ป่าภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุริทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

๒.๑.๔ ในช่วงดังกล่าวบางรายงานแจ้งว่ามีทหารเวียดนามในลาวประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน และในเขมรประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งอาจจะต้องการเปิดศึก ๒ ด้าน ให้ไทยพะว้าพะวงทั้งการรุกที่บ้านร่มเกล้าตีเจาะมาทางเหนือ และตีรุกเข้ามาที่ช่องบกทางใต้ เพื่อตัดและยึดภาคอิสาน เลยหากรณีมาอ้าง เพื่อทำการรบ

๒.๑.๕ จากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่ามีฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบ อาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้งบางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดา

๒.๑.๖ ระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทย และยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้

๒.๑.๗ ที่ตั้งบนเนิน ๑๔๒๘ มีการดัดแปลงการตั้งรับอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะเป็นเนินเขาบีบแคบ ในการเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้าอย่างเดียว ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบ หากจะต้องทำการรบในกรอบปกติ

๒.๑.๘ ข้อกล่าวหาของลาวต่อไทยอีกอย่างหนึ่งคือ ลาวกล่าวหาว่ามีบริษัทคนไทยบุกรุกเข้าไปตัดไม้และชักลากไม้ของลาวเข้ามาในอาณาเขตไทย ทหารลาวต้องการเงินค่าไม้ เมื่อไม่ได้รับจึงดำเนินการในลักษณะรุกรานดังกล่าว แต่บางรายงานก็กล่าวว่ามีคนไทยบางคนสมคบกับทหารลาวในพื้นที่ทำธุรกิจไม้เถื่อนจากลาวเข้ามาในไทย มีการติดต่อค้าขายกันมานาน ก่อนเกิดเหตุมีการคดโกงกันขึ้น คือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายไทยไม่ยอมจ่ายค่าไม้เถื่อนให้กับทหารลาวในวงเงินประมาณ ๕ ล้านบาท ทหารลาวจึงทำการเผารถแทรกเตอร์ รถบรรทุก และรถจี๊บเป็นการตอบแทน ซึ่งมีหลายฝ่ายของไทยกล่าวว่า การตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว เพื่อเป็นการเสริมเรื่องไทยรุกล้ำแดนลาว และยังเข้าไปต้ดไม้ด้วย เพื่อหาเหตุผลในการรุกราน

ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของสงครามบ้านร่มเกล้า

ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๐ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เคลื่อนไหวรุนแรงที่จะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าม้ง ใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เพราะสามารถข้ามลำน้ำเหืองเข้ามาในเขตไทยได้ง่าย และบริเวณพื้นที่นี้กลายเป็นยุทธบริเวณอันสำคัญระหว่างทหารกับพคท. ชาวม้งซึ่งเป็นแนวร่วมกับพคท.ถูกปราบปรามอย่างหนัก หนีข้ามลำน้ำเหืองเข้าไปในเขตลาว

ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานการณ์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลง ประกอบกับนโยบาย ๖๖/๒๕๒๓ ของรัฐบาลไทยคือใช้ยุทธวิธี “กวนป่า ล้อมบ้าน” ใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำทหาร” ทำให้ชาวม้งตัดสินใจกลับเข้ามาตามโครงการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กองทัพภาคที่ ๓ ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์และแนวชายแดนจาก อ.นาแห้ว จ.เลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ มีการจัดตั้งชุดทหารพรานคุ้มครองที่ ๓๔๐๕ ขึ้น

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ทหารลาวยกกำลังเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งไทยอ้างว่าอยู่ในเขต อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทป่าไม้เอกชนเสียหาย ๓ คัน มีผู้เสียชีวิต ๑ คน หายสาบสูญ ๑ คน ทหารพรานชุด ๓๔๐๕ เข้าปะทะกับทหารลาว

๑ มิถุนายน ๒๕๓๐ ทหารลาวเข้าโจมตีม้งที่บ้านร่มเกล้า โดยอ้างว่าเป็นการกวาดล้างม้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาว (กลุ่มกองกำลังต่อต้านลาว ซึ่งมีการจัดตั้งในสมัยสงครามเวียดนาม ผู้นำคือนายพลวังเปา เพื่อใช้ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือและลาวแดง ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวในภาคเหนือของลาว บางพื้นที่ทหารลาวยังไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปะทะระหว่างทหารลาวและลาวฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง เช่น ที่ด่านวังเต่าติดชายแดนไทยเมื่อไม่นานมานี้ และลาวกล่าวหาไทยว่าให้การสนับสนุน บางรายงานแจ้งว่าม้งกลุ่มนี้ได้รับการสนุบสนุนด้านการเงินจากม้งที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศ ) และมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งยกกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม และบ้านนากอก อ.นาแห้ว จ.เลย ยิงราษฎรไทยตาย ๑ คน จับกุมตัวไป ๖ คน หนีรอดมา ๑ คน โดยกล่าวหาว่าราษฎรเหล่านั้นลักลอบเข้าไปตัดไม้ในลาว

<p style="margin: 6px